Les verbes impersonnels

    กริยา impersonnel คือ รูปกริยาที่ผันกับสรรพนามประธาน "Il" เสมอ และสรรพนาม "Il" นี้ไม่ได้แทนบุคคลใด

        หรือสิ่งของใดทั้งสิ้น ถือว่า "เป็นกลาง (neutre)" เพื่อให้คำกริยาผันได้ :

        คำกริยาที่ใช้ในรูป impersonnel เท่านั้น :

            "Il fait ............", "Il y a ................" : บอกปรากฎการณ์ธรรมชาติ

              - Il fait beau, mauvais, bon, chaud, froid, jour, nuit ...(อากาศแจ่มใส, ไม่ดี, ดี, ร้อน, หนาว, สว่างแล้ว, พลบคํ่า)

              - Il fait 19 (degrés) (อุณหภูมิ 19 องศา)

              - Il y a du soleil, du vent, de la neige, des nuages, ... (มีแสงแดด, ลม, หิมะ, เมฆ,...)

            นอกจากนี้ยังมี : Il pleut (pleuvoir)(ฝนตก), Il neige (neiger)(หิมะตก), Il gèle (geler)(หนาวจัดจนนํ้าเป็นนํ้าแข็ง)

           "Il est ..............." : บอกเวลา

              - Il est sept heures du matin. (เจ็ดโมงเช้า)

              - Il est tôt. / Il est tard. (ยังเช้า [หัวคํ่า] อยู่ / สาย [ดึก] แล้ว)

            "Il y a ..........." : บอกว่ามีอะไรอยู่ที่ใด

              - Il y a plusieurs marchés flottants à Nakhonpathom (มีตลาดนํ้าหลายแห่งในจ.นครปฐม)

              - Il y a quelqu'un dans la maison ? (มีใครอยู่ในบ้านหรือเปล่า)

            "Il faut .............." : บอกความจำเป็น

              - Il faut finir ce travail avant demain ! (ต้องทำงานนี้ให้เสร็จก่อนวันพรุ่งนี้)

              - Il faut que tu apprennes le français d' abord ! (เธอต้องเรียนภาษาฝรั่งเศสก่อน)

              - Il faut beaucoup de temps pour les études. (ต้องใช้เวลามากในการศึกษาเล่าเรียน)

            "Il s' agit de ................" : บอกว่าเกี่ยวข้องกับใครหรืออะไร หรือบอกความจำเป็น

              - De quoi s' agit-il ?(มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร)  Il s' agit d' une affaire politique (มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง)

              - Pour ce genre de travail, il s' agit d' être souriant et patient. (สำหรับงานเช่นนี้จำเป็นต้องยิ้มแย้มและอดทน)

       คำกริยาบางคำใช้ได้ทั้งในรูป impersonnel และรูปที่มีความหมายถึงบุคคลหรือสิ่งของได้ :

           Rester : - Il reste toujours triste après la mort de sa femme. (เขายังคงเศร้าอยู่หลังการตายของของภรรยาเขา) 

                            - Il reste encore du pain ? (ยังมีขนมปังเหลือไหม)

          Être : - Il était une fois... (กาลครั้งหนึ่ง...) [บอกการเริ่มดำเนินเรื่องของนิทาน]

                             - Il s' appelle Jean. Il est français. (เขาชื่อชอง เขาเป็นชาวฝรั่งเศส)

          Être + adj + de/que ........... : บอกดุลพินิจ : Il est bon..., Il est important..., Il est possible...etc.

                             - Il est difficile de prévoir la situation ! (เป็นการยากที่จะคาดเดาสถานการณ์)

                             - Il est possible qu' il vienne demain. (เป็นไปได้ที่เขาจะมาพรุ่งนี้)

          Plaire : - S' il vous plaît. (ได้โปรด! / กรุณา!)

                        - Ce parfum me plaît beaucoup. (ฉันชอบนํ้าหอมนี้มาก)

           Sembler : - Il semble qu' il y ait une manifestation au centre ville. (ดูเหมือนว่าจะมีการชุมนุมกันที่ใจกลางเมือง)

                            - Elle semble très contente ! (หล่อนดูท่าทางดีใจมาก)

           Paraître : - Il paraît qu' ils se sont mariés le mois dernier. (ดูเหมือนว่าพวกเขาจะแต่งงานกันเมื่อเดือนที่แล้ว)

                                   - Elle paraît très fatiguée en ce moment. (หล่อนดูท่าทางเหนื่อยมากช่วงนี้)

          Valoir : - Il vaut mieux partir de bonne heure. (ออกเดินทางแต่เช้าดีกว่า)

                        - Cette voiture vaut très cher ! (รถคันนี้แพงมาก !)

           Suffir : - Il suffit de surfer sur l' internet pour trouver tous les renseignements.

                         (แค่เพียงเข้าไปเซิร์ฟในอินเทอร์เนทก็จะพบข้อมูลทุกอย่าง)

                       - Il suffit que tu lui demande pardon! (เธอแค่ขอโทษหล่อนก็เรียบร้อยแล้ว !)

                       - Cette somme ne suffit pas pour acheter une belle maison ! (เงินจำนวนเท่านี้ไม่พอซื้อบ้านสวยๆหรอก !)

          เรานิยมใช้ impersonnel ในรูป passif เมื่อไม่ต้องการระบุว่าใครเป็นผู้กระทำกริยา :  

           - Il est interdit de se baigner ici ! (ห้ามเล่นนํ้าบริเวณนี้ !)

           - Il est défendu de stationner ! (ห้ามจอดรถ !)

           - Il est permis d' amener un ou une amie. (อนุญาตให้พาเพื่อนมาได้หนึ่งคน)

           - Il a été décidé de créer un centre d' apprentissage du français à l' école Rachiniebourana.

             (มีมติให้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภาษาฝรั่งเศสขึ้นที่โรงเรียนราชินีบูรณะ)

     ในภาษาพูด "C' est..." นิยมใช้มากกว่า "Il est..."

         - Il est difficile de comprendre les adolescents aujourd' hui ! (วัยรุ่นสมัยนี้เข้าใจยาก !)

         - C' est facile de faire cet exercice ! (แบบฝึกหัดนี้ทำง่าย !)

         - Il est évident qu' elle est satisfaite de son travail. (เห็นชัดว่าหล่อนพอใจกับผลงานของหล่อน)

         - C' est évident qu'on ne peut pas tout faire tout seul ! (แน่นอนว่าเราไม่สามารถทำทุกอย่างได้ตามลำพังคนเดียว !)

Exercice 1