Le présent

    การใช้ :

        1. แสดงเหุตการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะที่พูด (action en cours)

            - Qu' est-ce que tu fais ? (เธอกำลังทำอะไร)

           + Je mange. (ฉันกำลังกิน)

        2. บรรยายลักษณะหรือสถานการณ(description, situation)

           - La famille Ducray habite Charlieu. Le mari est employé dans une banque, la femme est secrétaire dans

             une entreprise. Ils ont deux enfants. (ครอบครัวดูเครย์อาศัยอยู่ที่เมืองชาร์ลิเออ สามีเป็นพนักงานในธนาคารแห่งหนึ่ง

             ภรรยาเป็นเลขาฯในบริษัทแห่งหนึ่ง เขามีลูกสองคน)

       3. บอกสิ่งที่กระทำเป็นประจำ, ความเคยชิน(นิสัย), ขนบธรรมเนียม

           - Je me lève toujours tôt. (ฉันลุกขึ้นแต่เช้าเป็นประจำ)

           - En France, quand on se rencontre ou se quitte, on se serre la main ou on s'embrasse. (ในฝรั่งเศส

            เมื่อผู้คนพบกันหรือจากกัน เขาจะจับมือกัน หรือไม่ก็สวมกอดกัน (แก้มแนบแก้ม)
)

      4. บรรยายสภาพความเป็นจริงโดยทั่วไป

          - En France, il fait froid en décembre, en janvier, et en février. (ในฝรั่งเศส อากาศหนาว

           ในเืดือนธันวาคม มกราคม และ กุมภาพันธ์)

          - Le soleil se lève à l'est et se couche à l'ouest. (ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก และตกทางทิศตะวันตก)     

     5. บอกเหตุการที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้

       - Dépêche-toi ! La poste ferme dans 10 minutes. (รีบเร็วเข้า ที่ทำการไปรณีย์ปิดในอีก10นาทีข้างหน้า)

       - Tu viens demain ? (พรุ่งนี้เธอมาหรือเปล่า)

        สำนวน " être en train de " + infinitif (= กำลัง) ใช้บรรยายเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ :  

       - Elle est en train d' étudier. Ne la dérange pas. (หล่อนกำลังเรียนอยู่ อย่ารบกวนหล่อนเลย)  

       - Les enfants sont en train de jouer au football. (เด็กๆกำลังเล่นฟุตบอลล์)

   รูปแบบ (formes) ของคำกริยากลุ่มต่างๆในกาลปัจจุบัน : [คลิ๊กที่นี่เพื่อดูเพิ่มเติมเรื่อง คำกริยากลุ่มต่างๆ]

1er groupe

parler

2e groupe

finir

3e groupe

mettre

3e groupe

attendre

3e groupe

vouloir

3e groupe

ouvrir

Je parle finis mets attends veux ouvre
Tu parles finis mets attends veux ouvres
Il / Elle parle finit met attend veut ouvre
Nous parlons finissons mettons attendons voulons ouvrons
Vous parlez finissez mettez attendez voulez ouvrez
Ils / Elles parlent finissent mettent attendent veulent ouvrent

    คำกริยากลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่มีรูปแบบการผันและลงท้ายที่หลากหลาย ไม่คงที่ (Verbes irréguliers)

      ซึ่งแตกต่างจากคำกริยากลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 ที่มีรูปแบบการผันและลงท้ายที่คงที่ (verbes réguliers)               

*
*
*
*

Exercice 1